เรียบเรียงโดย: Suphitcha Wongsakulpetch (17/07/2015)
สำหรับเครื่องประดับในยุควิกตอเรียนั้นเป็นยุคบุกเบิกเลยก็ว่าได้ค่ะโดยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงมีความชื่นชอบในเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลานั้นรสนิยมการดำเนินชีวิตส่วนพระองค์ทรงมีอิทธิพลต่อชนชั้นสูงของชาวอังกฤษ
ส่งผลให้การแต่งกายรวมทั้งการสวมใส่เครื่องประดับในยุควิกตอเรียเป็นที่แพร่หลายค่ะ
เครื่องประดับในยุควิกตอเรียโดยทั่วไปแล้วจะมีรูปทรงที่มาจากธรรมชาติและวัสดุที่มาจากธรรมชาติค่ะ
เช่นเปลือกหอย ไข่มุก หินลาวา ฟอสซิล ถ่านหิน เจ็ท โทเค็น ปะการัง ทองคำ นิล เพชร พลอย
ทับทิม เทอร์คอยซ์ โกเมน มูนสโตน เพทาย
โอปอล มรกต การลงยาสีน้ำเงินโคบอล์ต หรือแม้แต่เส้นผมของมนุษย์ ช่างแกะสลักในยุคนั้นแกะสลักด้วยมือโดยช่างฝีมือตามแนวชายฝั่งของอิตาลีค่ะ ลักษณะของการออกแบบจะค่อนข้างประณีตทำให้เครื่องประดับทุกชิ้นในยุคนั้นมีความวิจิตบรรจงและงดงาม
( Queen Victoria wearing sapphire jewelry by Franz Xavier Winterhalter (Versailles) 1842)
(Queen Victoria wearing rubies by John Partridge, 1840 England)
(Queen Victoria wearing the Emerald and Diamond Tiara designed by Prince Albert 1845 )
โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนในปี ค.ศ. 1861 เมื่อเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งเยอรมันพระสวามีในพระนางเจ้าวิกตอเรียทรงสิ้นพระชนม์ลง ได้ส่งผลให้กิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในวงการเครื่องประดับ โดยในช่วงนั้นรูปแบบของเครื่องประดับทุกชิ้นจะใช้อัญมณีที่มีสีดำเพื่อแสดงออกถึงการสูญเสียและการไว้ทุกข์ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของเครื่องประดับแห่งการไว้ทุกข์ (Mourning jewelry) หรือที่เรียกว่าเครื่องประดับแห่งความทรงจำ โดยส่วนใหญ่เครื่องประดับแห่งการไว้ทุกข์นี้จะถูกทำมาจากถ่านหิน เจ็ท นิล ประดับร่วมกับคามิโอ ไข่มุก และเพชรค่ะ เครื่องประดับลักษณะนี้ได้รับความนิยมในอังกฤษยาวนานถึง 46 ปี และภายหลังได้หายไปจากความนิยมเมื่อพระนางเจ้าวิกตอเรียสิ้นพระชนม์ค่ะ
(Prince Albert)
(Prince Albert's funeral took place on 23 December 1861)
(Queen Victoria in mourning dress)
Disclaimer: These photos do not belong to me.
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :
wikipedia.org
http://thaiartcmu.com
www.countryliving.com
www.victoriana.com
www.1stdibs.com
www.maejeanvintage.com
http://www.wmagazine.com
https://www.antiquehelper.com
https://www.pinterest.com/